Love Man United

แผนกวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

เรียนรู้ ริเริ่ง เร่งรัด รวดเร็ว เรียบร้อย


วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ิอุปกรณ์คอมพิวเตอร์








เคส คอมพิวเตอร์ ก็คือกล่องสำหรับบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ เอา ไว้ข้างใน เพื่อประโยชน์ในการยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความมั่นคง กะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้ ขณะเดียวกันก็เพื่อความปลอดภัย เช่น ป้องกันไฟดูด ป้องกันอุปกรณ์สูญหาย และการป้องกันการส่งคลื่นรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

ชนิดของ เคส คอมพิวเตอร์

ชนิดของ เคสคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะแบ่งตามขนาด และลักษณะของมัน ซึ่ง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ

• ประเภทวางยืน หรือ Tower

• ประเภทวางนอน หรือ Desktop บางทีเราก็เรียกว่าแบบตั้งโต๊ะ แต่ก็อาจจะสับสนกับประเภทแรก เพราะตั้งบนโต๊ะเหมือนกัน





LCD ยุคนี้ถือเป็นยุคของแอลซีดีเฟื่องฟูอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะมอนิเตอร์หรือทีวีก็ตาม ด้วยราคาที่แสนเร้าใจ แถมยังคุณภาพของภาพที่ได้ก็ดีขึ้นมากใกล้เคียงจอแบบ CRT เข้าไปทุกขณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจอแอลอีดี – แอลซีดี เริ่มมีมาให้เห็นกันมากขึ้น แต่คงยังมีความสับสนอยู่ไม่น้อยกับจอภาพแอลอีดี-แอลซีดีที่เข้ามาจำหน่วย อยู่ในเวลานี้ แท้จริงแล้วคืออะไร เป็นแบบไหนกันแน่หาคำตอบให้หายสงสัยจากบทความนี้เลยครับ



keyboard ใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก



เม้าส์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ mouse pointerเป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้น หนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสรร ต่างๆกัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสรรแปลกตาไปจากรุ่นทั่วๆไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ Air Mouse ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกัน



เครื่องพิมพ์ (Printer) หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำให้หัวร่อมิได้ร่ำไห้มิออก บางคนเรียก ตัวกินกระดาษ โครงสร้างสำคัญของพรินเตอร์มีเพียง 3 ส่วน คือ หนึ่ง ฝาครอบ สอง ช่องป้อนกระดาษที่ติดขัดตลอดปี สาม ไฟกะพริบสีแดงบอกว่าเครื่องพิมพ์ขัดข้องตลอดปีเช่นกัน นิสัยเฉพาะของพรินเตอร์คือ ไม่ชอบพิมพ์สิ่งที่สั่งให้พิมพ์ แต่ดันชอบพิมพ์สิ่งที่เราไม่ได้สั่งให้พิมพ์ และดื้อด้าน ไม่ยอมหยุดเมื่อเราสั่งให้มันหยุด





โมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัส กับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของ คุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการ แปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณ กลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความ แตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท

สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอ์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆได้ดังนี้ - ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร - บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์ - แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์ - เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ


จอยสติก
เป็นอุปกรณ์นำำเข้าข้อมูล คำสั่ง ใช้การควบคุมการเคลื่อนของตัวชี้คล้ายกับเมาส์ แต่ต่างกันที่จอยสติกจะเพิ่มปุ่มเฉพาะอย่าง นิยมใช้ในการเล่นเกม


Webcam เว็บแคม ( Webcam ) หรือ ชื่อเรียกเต็มๆว่า Web Camera แต่ในบางครั้งก็มีคนเรียกว่า Video Camera หรือ Video Conference ก็แล้วแค่ความเข้าใจแต่ละคน เว็บแคมเป็นอุปกรณ์อินพุตที่สามารถจับภาพเคลื่อนไหว ของเราไปปรากฏในหน้าจอมอนิเตอร์ และสามารถส่งภาพเคลื่อนไหวนี้ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อให้คนอีกฟากหนึ่ง สามารถเห็นตัวเราเคลื่อนไหว ได้เหมือนอยู่ต่อหน้า ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อีกตัวหนึ่ง และเริ่มมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

CPU คืออะไร

CPU คือ


CPUย่อมาจาก Central Processing Unit คือ หน่วยประมวลผลกลาง ตามที่พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานบัญญัติศัพท์เอาไว้ หรือเีรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (Chip) CPU มีลักษณะเป็นชิปตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่ง ภายใน CPU จะประกอบไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า CPU จะทำหน้าที่คำนวณตัวเลขจากชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ป้อนโปรแกรมเข้าไปแล้ว CPU จะไปอ่านชุดคำสั่งมาแปลความหมาย และทำการคำนวณ เมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะส่งผลลัพธ์ออกไปแสดงผลทางหน้าจอ




CPU อยู่ส่วนไหนของคอมพิวเตอร

เมื่อเปิดฝาเคสจะเห็นว่าอุปกรณ์หลัก ๆ มีอยู่ไม่กี่ชิ้น แต่จะมีแผงวงจรที่เต็มไปด้วยลายวงจร เรียกว่า เมนบอร์ด CPU จะวางอยู่บนเมนบอร์ด ตรงที่มีพัดลมและแผ่นโลหะระบายความร้อน เรียกว่า ฮีตซิงค์ (Heatsink) วางทับอยู่ ส่วนนั้นคือ CPU จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะทำมาจากวัสดุประเภทเซรามิค ภายในจะบรรจุด้วยวงจรทรานซิสเตอร์ ซึ่งมีขนาดเล็กเป็นล้านตัว ภายใต้ตัว CPU จะมีเหล็กแหลม ๆ คล้ายกับเข็มเป็นจำนวนมากส่วนนี้เรียกว่า ขาของ CPU ส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอุปกรณ์ต่าง ๆ


วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Mainboard

Mainboard หรือ Systemboard หรือ Motherboard หมายถึง แผงวงจรหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รวมเอา Chip และ IC-Integrated-Circuit ชิ้นเล็ก ๆ ที่คุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆเข้าไว้ด้ยกันเละมีช่อง (Slot หรือ Socket ) สำหรับเสียบซีพียู , แรม Cards ตามภาพเป็น Mainboard แบบ On-Board ผู้ขายจะมอบคู่มือของแผงวงจรหลักให้ สิ่งที่อยู่บน mainboard มีลักษณะและหน้าที่ใช้งานดังนี้

- BIOS (Basic Input/output System) ทำหน้าที่กำหนดและเก็บข้อมูลขั้นตอนของการ Boot เครื่องคอมพิวเตอร์ โดย BIOS จำเป็นต้องมี Battery ทำหน้าที่ให้ไฟเลี้ยงด้วยเพื่อมิให้ข้อมูลหายในช่วงที่ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์


- Socket เป็นแป้นพลาสติกสีขาวสำหรับใส่ CPU จำนวนขาของ CPU ต้องเท่ากับจำนวนขาของ Socket ด้วย แต่ mainboard บางรุ่นไม่มี Socket แต่มี Slot แทนซึ่งทำหน้าที่เหมือน Socket คือมีไว้สำหรับติดตั้ง CPU

- Slot PCI เป็น slot สีขาว ทำหน้าที่สำหรับเป็นที่ติดตั้ง Card ต่างๆ มีอัตราส่งข้อมูลอยู่ที่ 32 bit

- Slot AGP เป็น slot สั้นกว่า PCI เล็กน้อย สีน้ำตาล สำหรับติดตั้ง Card VGA มีความเร็วในการส่งข้อมูล 64 bit

- Slot RAM มีหลายแบบหลายชนิดตามชนิดของแรม เช่น SDRAM, RDRAM, DDRRAM

- Chipset ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่าง CPU, RAM, Slot ต่างๆ และ Controller ต่างๆ Chipset มีความสำคัญมากเวลาเลือกซื้อ Mainboard ควรดูว่า CPU เราสามารถใช้งานร่วมกับ Chipset ได้หรือไม่

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ยุคของคอมพิวเตอร์

ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1

อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง


วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หน่วยความจำแรม (RAM)


RAM DDR3

แรมตัวนี้มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า OCZ DDR3 PC3-12800 Fatal1ty Edition Low Voltage Dual Channel อื้อหือ ชื่อยาวมาก เอาเป็นว่าแรมตัวนี้นั้นเป็นแบบ DDR3 ที่ทำงานในลักษณะ Dual Channel และมีความเร็วมาตรฐานที่ 1600MHz โดยมี CL 7-8-8 ที่แรงดันไฟ 1.65v ครับ

เนื่องจากเป็นแรมแบบ Dual Channel ฉะนั้นแล้วจึงมาเป็นแบบแพ็คคู่ตัวละ 2GB รวมทั้งหมดเป็น 4GB พอดี สำหรับเมนบอร์ดที่รองรับนั้นก็คือทุกตัวที่มีสล็อตแรม DDR3 แบบ Dual Channel ครับ ไม่ว่าจะเป็นของ Intel หรือ AMD

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)





เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบ
ภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เพาเวอร์ซัพพลาย Power Supply




อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรามักจะมองข้ามไปและเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเพราะถ้าขาดเจ้าตัวนี้แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเก่งของเราก็เปรียบเสมือนกล่องเหล็กธรรมดาๆใช้การอะไรไม่ได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือ แหล่งจ่ายไฟ หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)นั่นเอง

เพาเวอร์ซัพพลายมีหน้าที่หลักก็คือ เปลี่ยนแรงดันกระแสสลับจากไฟบ้าน 220โวลท์เอซี ให้เป็นแรงดันไฟตรงดีซีที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้

แหล่งจ่ายไฟคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือคอมพิวเตอร์พีซีนั้น ส่วนใหญ่จะบรรจุในเคสด้านหลัง ถ้ามองไปที่หลังเคสจะเห็นก่องเหล็กสี่เหลี่ยมมีช่องเสียบสายไฟและพัดลมเพื่อระบายความร้อน

เพาเวอร์ซัพพลายจะใช้เทคโนโลยีที่เราเรียกว่า สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย คือ การเปลี่ยนแรงดันอินพุตกระแสสลับเอซี ให้เป็นแรงดันตํ่ากระแสตรงแรงดันที่ออกแบบให้ออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายมีอยู่ทั่วไป 3ระดับคือ 3.3โวลท์ , 5โวลท์ และ 12โวลท์ โดยที่แรงดัน3.3โวลท์และแรงดัน5โวลท์ จะนำไปใช้ในวงจรดิจิตอล ส่วนแรงดัน12โวลท์ถูกนำไปใช้ในการหมุน มอเตอร์ของดิสท์ไดรฟ์และพัดลมระบายความร้อน